วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมหวานแต่ละภาค


  • ขนมไทยล้านนา ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
  • ขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น
  • ขนมไทยภาคอีสาน เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ มักใช้ในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู
  • ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาล[[วันสารท[[ เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น



ขนมจ๊อก
อาหารหวานของทางภาคเหนือ และถือเป็นของหวานที่เป็นขนมยอดนิยม ทำกันทุกบ้านในเวลาเทศกาลโดยเฉพาะ สงกรานต์ หรือเทศกาลเข้าพรรษา เดือนยี่เป็ง เวลาไปทำบุญที่วัด เราจะพบเห็นขนมพื้นบ้านที่ทุกบ้านจะนิยมทำ คือ "ขนมจ๊อก" คำว่า "จ๊อก" เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นคล้ายๆ กระจุก มียอดแหลม คือ การห่อขนมเทียนของทางภาค กลางนั่นเอง

ขนมจ๊อกของภาคเหนือดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าวเท่านั้น ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็มเลย

ส่วนผสม
1. แป้งข้าวเหนียว ๕ ถ้วยตวง
2. น้ำ ๓ ถ้วยตวง
3. เกลือป่น ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ
วิธีการปรุง
๑. นวดแป้งโดยใส่น้ำทีละน้อย ขณะที่กำลังนวดใส่เกลือป่นลงไปด้วย      นวดจนกระทั่งแป้งนิ่ม เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดฝา หรือใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำ
     พอหมาดคลุมไว้ (จะใช้หัวกะทิสำหรับนวดก็ได้)
๒. ใส่มะพร้าวกับน้ำตาลปีบลงในกะทะหรือหม้อ ตั้งไฟกลาง คนไป
     จนกระทั่งเหนียวปั้นได้ ยกลง
๓. ปั้นไส้เป็นก้อนกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑/๒ นิ้ว
๔. นำแป้งมาปั้นให้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว แผ่ออก นำไส้ขนมที่ปั้นไว้
     มาใส่ตรงกลาง แล้วห่อแป้งหุ้ม ไส้ขนมให้มิดห่อด้วยใบตองที่เตรียมไว้
๕. เรียงขนมที่ห่อเรียบร้อยแล้ว ลงในลังถึง นึ่งไฟกลางประมาณ ๓๕ นาที พอสุกยกลง

ขนมไทยภาคใต้


ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท
เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะใ
ท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง
ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจา
ะรู
ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น

ขนมไทยภาคอีสาน



เป็ขนมที่ทำกันง่ายๆ
ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่
บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง

ขนมไทยภาคกลาง


ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น
ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง
จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล
ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น