วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมหวานแต่ละภาค


  • ขนมไทยล้านนา ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
  • ขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น
  • ขนมไทยภาคอีสาน เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ มักใช้ในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู
  • ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาล[[วันสารท[[ เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น



ขนมจ๊อก
อาหารหวานของทางภาคเหนือ และถือเป็นของหวานที่เป็นขนมยอดนิยม ทำกันทุกบ้านในเวลาเทศกาลโดยเฉพาะ สงกรานต์ หรือเทศกาลเข้าพรรษา เดือนยี่เป็ง เวลาไปทำบุญที่วัด เราจะพบเห็นขนมพื้นบ้านที่ทุกบ้านจะนิยมทำ คือ "ขนมจ๊อก" คำว่า "จ๊อก" เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นคล้ายๆ กระจุก มียอดแหลม คือ การห่อขนมเทียนของทางภาค กลางนั่นเอง

ขนมจ๊อกของภาคเหนือดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าวเท่านั้น ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็มเลย

ส่วนผสม
1. แป้งข้าวเหนียว ๕ ถ้วยตวง
2. น้ำ ๓ ถ้วยตวง
3. เกลือป่น ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ
วิธีการปรุง
๑. นวดแป้งโดยใส่น้ำทีละน้อย ขณะที่กำลังนวดใส่เกลือป่นลงไปด้วย      นวดจนกระทั่งแป้งนิ่ม เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดฝา หรือใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำ
     พอหมาดคลุมไว้ (จะใช้หัวกะทิสำหรับนวดก็ได้)
๒. ใส่มะพร้าวกับน้ำตาลปีบลงในกะทะหรือหม้อ ตั้งไฟกลาง คนไป
     จนกระทั่งเหนียวปั้นได้ ยกลง
๓. ปั้นไส้เป็นก้อนกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑/๒ นิ้ว
๔. นำแป้งมาปั้นให้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว แผ่ออก นำไส้ขนมที่ปั้นไว้
     มาใส่ตรงกลาง แล้วห่อแป้งหุ้ม ไส้ขนมให้มิดห่อด้วยใบตองที่เตรียมไว้
๕. เรียงขนมที่ห่อเรียบร้อยแล้ว ลงในลังถึง นึ่งไฟกลางประมาณ ๓๕ นาที พอสุกยกลง

ขนมไทยภาคใต้


ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท
เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะใ
ท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง
ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจา
ะรู
ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น

ขนมไทยภาคอีสาน



เป็ขนมที่ทำกันง่ายๆ
ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่
บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง

ขนมไทยภาคกลาง


ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น
ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง
จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล
ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมไทยในเทศกาลต่างๆ

  ขนมไทยในเทศกาลต่างๆ


ขนมไทยได้เข้ามามีบทบาทในงานบุญตั้งแต่อดีตมาแล้วที่คนไทยทำขนมพิเศษ ๆ เฉพาะงานบุญขึ้น นั่นหมายถึงในปีหนึ่ง ๆ จะมีการทำขนมชนิดนั้นเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น เนื่องจากทำยากและต้องใช้แรงใจแรงกายของคนหลาย ๆ คนร่วมกัน ชาวบ้านจะทำขนมนั้น ๆ ในปริมาณมาก ซึ่งถ้าเหลือจากงานบุญก็จะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านและเก็บไว้กินเอง หากจะเรียกขนมไทยในงานบุญนี้ว่าขนมตามฤดูกาลก็คงจะไม่ผิดนัก 

เทศกาลตรุษสงกรานต์ สมัยก่อน คนไทยถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จะกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบปฏิทินสากลตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จนกระทั่งปัจจุบัน
เดิมทีเทศกาลขึ้นปีใหม่สงกรานต์ของไทยเราจะกำหนดวันงานไว้ ๓ วันด้วยกัน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เมษายนเป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เมษายนเป็นวันเถลิงศก ขึ้นจุลศักราชใหม่ตามสุริยคติ ข้าวเหนียวแดงและกะละแมเป็นพระเอกและนางเอกในเทศกาลตรุษสงกรานต์ การกวนข้าวเหนียวแดงและกะละแมนั้นต้องใช้แรงมาก จึงต้องอาศัยช่วงเทศกาลนี้ที่มีพ่อแม่พี่น้อง และญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมประชุมกันโดยพร้อมเพรียง ร่วมแรงร่วมใจกันทำ เมื่อเสร็จแล้วก็นำไปทำบุญที่วัดร่วมกัน สะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัวและในสังคมไทย
การทำขนมปีใหม่ของคนไทยสมัยก่อนจึงต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ เพราะเมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะไปทำบุญเลี้ยงพระและก่อพระเจดีย์ทรายที่วัดแล้วจึงรดน้ำดำหัวเล่นสงกรานต์กันไปทั้ง ๗ วัน ขนมปีใหม่ของไทยจึงเป็นขนมพื้นเมืองที่ทำขึ้นแล้วสามารถเก็บไว้ได้หลายวันคือข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ในบรรดาขนมทั้งสามชนิดนี้ การกวนกะละแมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ใช่ว่าชาวบ้านจะนิยมกวนกันทุกปี ส่วนใหญ่มักจะทำข้าวเหนียวแก้วบ้าง ข้าวเหนียวแดงบ้างสลับกันไป เพราะสองอย่างนี้ทำได้ง่ายกว่า หรือถ้าบ้านไหนตั้งใจจะกวนกะละแม และเป็นครอบครัวใหญ่มีญาติพี่น้องมาก บรรยากาศช่วงกวนกะละแมจะคึกคักเป็นพิเศษ ทุกคนจะช่วยกันเตรียมการประมาณ ๒ วัน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลาน จะถือเป็นเรื่องสนุกสนานเพราะไม่เพียงแต่ได้กินกะละแมก้นกระทะเท่านั้น ยังอาจจะได้กินมะพร้าวเผา อ้อยเผาอีกด้วย การกวนกะละแม สิ่งที่ต้องใช้ได้แก่ น้ำตาลหม้อหรือน้ำตาลปีบ มะพร้าวและข้าวเหนียว ก่อนวันกวน ๑ วัน ชาวบ้านจะคัดเลือกมะพร้าวห้าวประมาณ ๑๐-๑๕ ลูก มาไว้เพื่อใช้คั้นน้ำกะทิตามนสัดส่วนที่ต่างจะต้องอาศัยความชำนาญว่าข้าวเหนียวกี่ทะนานต่อมะพร้าวกี่ลูกและใช้น้ำตาลในปริมาณเท่าใด ขั้นตอนแรก ต้องนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำเพื่อตักหยอดใส่โม่หิน แน่นอนว่าต้องใช้คนที่มีร่างกายแข็งแรงช่วยกันโม่ตั้งแต่ตอนบ่าย กว่าจะเสร็จก็ตกประมาณ ๓-๔ ทุ่มของวันเดียวกัน จากนั้นก็จะทับถุงน้ำแป้งไว้ด้วยลูกโม่ให้น้ำไหลออกจนเหลือเพียงเนื้อแป้งหมาด ๆ ในวันรุ่งขึ้นประมาณตีสามตีสี่ บรรดาผู้ใหญ่จะตื่นขึ้นมาช่วยกันทำขนมแสงไฟจากตะเกียงลานและตะเกียงลานและตะเกียงรั้วจะถูกจุดให้สว่าง เมื่อเด็กเห็นหรือได้ยินเสียงผู้ใหญ่พูดคุยกัน ก็อดลุกขึ้นมาร่วมวงไม่ได้ บางคนก็อาสาช่วยขูดมะพร้าวจำนวนไม่น้อยเลย จากนั้นก็จะคั้นมะพร้าวขูดด้วยน้ำลอยดอกมะลิใช้กรองแยกออกมาเป็นหัวกะทิและหางกะทิ ส่วนที่เป็นหัวกะทิให้เทลงกระทะใบใหญ่ เคี่ยวด้วยไฟจนแตกมัน แล้วตักใส่อ่างเก็บไว้
ขั้นต่อไป คือนำแป้งที่เตรียมไว้ใส่กะละมัง เทหาง กะทิและใส่น้ำตาลหม้อมาผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกันเสร็จ แล้วก็เทลงกระทะใบบัวคือกระทะเหล็กขนาดใหญ่ที่วางอยู่บนเตา ใส่ฟืนให้ลุกโชนแล้วจึงเริ่มลงมือกวนกะละแมกันตั้งแต่เช้าประมาณเก้าโมง ช่วงแรกแป้งก็ยังเหลวอยู่ใช้พายด้ามเดียวก็กวนได้ง่าย ช่วงนี้เด็ก ๆ ที่นึกสนุกมักจะมาขอผู้ใหญ่กวน แต่กระนั้นก็ต้องคอยขูดก้นกระทะเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แป้งไหม้ติดก้นกระทะ และพอแป้งงวดข้นเหนียวเดือดเป็นฟองแล้วเด็ก ๆ ต้องระวังไม่ให้ฟองแตกถูกตัว เพราะจะทำให้ผิวหนังพองและแสบมาก เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ผู้ใหญ่มักจะลงมือกวนเอง มีการราไฟและเร่งไฟบ้างเป็นจังหวะ จนกระทางแป้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นสีน้ำตาลแก่ ช่วงนี้แป้งและน้ำตาลจะเหนียวหนุบหนึบขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องออกแรงกวนมากเป็นพิเศษ ราว ๖ โมงเย็นของวันนั้น กะละแมก็จะกลายเป็นสีดำและเหนียวมากจนแทบจะกวนไม่ไหวต้องใช้พายอันที่สองเข้าช่วยเพราะไม่อย่างนั้นก้นกระทะจะไหม้ได้ ถ้าสังเกตเห็นว่าก้นกระทะทำท่าจะไหม้แล้วต้องรีบเติมหัวกะทิที่เคี่ยวแตกมันแล้วลงไป โดยใส่ทีละน้อยตั้งแต่เวลาบ่ายแก่ ๆ เป็นต้นมา ฟ้าเริ่มมืด กะละแมที่กวนก็เหนียวได้ที่ดีแล้ว จึงค่อย ๆ ราไฟในเตาให้อ่อนลง เพื่อป้องกันไม่ให้ก้นกระทะไหม้ จากนั้นจึงใช้พายทั้ง ๒ ด้ามตักกะละแมใส่กระด้งที่ปูด้วยเปลือกกาบหมากเพราะกาบหมากจะช่วยให้กาละแมมีกลิ่นหอมกว่าใบตอง เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการกวนกะละแม เพื่อเก็บไว้กินในวันรุ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะอดใจไม่ไหวจะคอยขูดกะละแมที่ก้นกระทะกินกันก่อนอย่างเอร็ดอร่อย บางคนก็จะนำมะพร้าวอ่อนบ้างอ้อย บ้าง มาหมกไฟที่ยังพอมีเชื้ออยู่เพื่อให้มีกลิ่นหอมมากขึ้น
..........ปัจจุบัน ประเพณีการให้ขนมปีใหม่เป็นกะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว เริ่มไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะคนไทยส่วนใหญ่มักจะซื้อของขวัญอย่างอื่นมอบให้กันในวันปีใหม่ แต่ก็ใช่ว่าขนมทั้งสามชนิดนี้จะหมดไปจากสังคมไทยเพราะทุกวันนี้ก็ยังเห็นมีกะละแมห่อเป็นคำเล็ก ๆ น่ารับประทานวางขายกับข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง ตามร้านขายขนมไทยอยู่ทั่วไป อีกทั้งไม่ได้เจาะจงว่า จะต้องมีเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ของไทยเท่านั้น

เทศกาลสารทไทย
เทศกาลสารทไทยเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับทางภาคกลางจะมีการรวมพลในแต่ละบ้านหรือในหมู่บ้าน เพื่อกวนกระยาสารทไปทำบุญถวายพระ โดยมีกล้วยไข่ผลงามสุกปลั่งเคียงคู่กันไปด้วย ส่วนทางภาคใต้เทศกาลสารทไทยหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่างานสารทเดือน ๑๐ นี้ เป็นประเพณียิ่งใหญ่ประจำปีที่จัดขึ้นในระดับจังหวัดโดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นจัดขึ้นอย่างเอิกเกริกเลยทีเดียว ขนมในงานบุญสารทเดือน ๑๐ ของชาวปักษ์ใต้มีหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมพอง ขนมไข่ปลา ขนมโค ขนมแดง ฯลฯ

งานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโว
ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดเป็นดาวดวงเด่นของงานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโวของภาคกลางจะห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางใต้ห่อเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกะพ้อแต่แต่ไม่มัด บางท้องถิ่นห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว เรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน" การนำข้าวต้มมัดมาใส่บาตรทำบุญจนเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเสบียง ในการเดินทางไปเผยแพร่พระธรรมคำสอนซึ่งยึดเป็นแบบแผนมาตั้งแต่สมัยโบราณ

 
งานมงคลต่างๆ.ในงานมงคลต่าง ๆ ของไทยอย่างงานแต่งงาน งานทำบุญอายุ งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช ฯลฯ ขนมไทยได้เข้าไปมีบทบาทในสำรับอาหารหวานที่ทำขึ้นเลี้ยงพระและสำรับอาหารหวานสำหรับเลี้ยงแขกเหรื่อมาเนิ่นนานแล้ว เนื่องจากความเชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ขนมหวานเป็นอาหารพิเศษสำหรับผู้มีบุญ ความหวานช่วยสร้างสรรค์มิตรภาพและความรัก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสำหรับสังคมไทยแล้ว ขนมหวานของไทยมีความหมายเกี่ยวข้องกับบุญกุศล ความรัก ความสุข และความสามัคคี

งานทำบุญเลี้ยงพระ

ขนมหวานของไทยที่นิยมทำขึ้นเพื่อทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก และขนมที่มีชื่ออันเป็นมงคลอย่าง ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ฯลฯ ขนมที่ใช้เฉพาะในพิธีแห่ขันหมากงานแต่งงานก็มี ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมพระพาย ขนมโพรงแสม ขนมชะมด ฯลฯ ขนมที่ใช้ติดกัณฑ์เทศน์ก็มีขนมหน้านวล ขนมชั้น ขนมฝักบัว ขนมผิง ขนมทองม้วน ฯลฯ

งานแต่งงาน
.ขนมในงานมงคลอื่น ๆ ก็มีชื่ออันเป็นมงคลและมีความหมายไปในทางที่ดี เช่นกัน อาทิ
* ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ซึ่งหมายถึงกงเกวียนที่หมุนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับพระธรรมจักร ความหมายที่ต้องการสื่อถึงงานแต่งงานก็คือ ต้องการให้คู่บ่าวสาวรักและครองคู่อยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร์
* ขนมสามเกลอ ซึ่งเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคี และไม่มีวันพรากจากกัน โดยใช้เป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ลักษณะของขนมสามเกลอเป็นลูกกลม ๆ เรียงกัน ๓ ลูกแบบก้อนเส้า การเสี่ยงทายจะดูกันตอนทอด กล่าวคือ ถ้าทอดแล้วยังอยู่ติดกัน ๓ ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน ถ้าทอดแล้วติดกัน ๒ ลูกแสดงว่าจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าหลุดจากกันหมด ไม่ติดกันเลย แสดงว่าชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืนหรือชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข อีกนัยหนึ่ง…ถ้าทอดขนมสามเกลอแล้วพองฟูขึ้นจะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมกับราวกิ่งทองกับใบหยก แต่ถ้าทอดแล้วด้าน ไม่พองฟู ก็ถือว่าใช้ไม่ได้
สาเหตุที่คนไทยในสมัยโบราณใช้ขนมดังกล่าวในงานมงคลก็เนื่องจากชื่ออันเป็นมงคลนั่นเอง โดยเฉพาะชื่อขนมที่มีคำว่า "ทอง" ประกอบ คนไทยเราถือว่าทองเป็นของดีมีมงคล ซึ่งการที่นำขนมที่มีคำว่า "ทอง" มาใช้ในงานมงคลก็เพื่อที่จะได้มีบุญกุศลมีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมขื่อขนมนั่นเอง

งานเลี้ยงต่างๆ
.........นอกจากงานบุญและงานมงคลดังกล่าวแล้ว ในสมัยก่อนยังมีงานเลี้ยงใหม่ของเหล่าเศรษฐีและข้าราชการผู้มีเมตตามุทิตาประจำใจซึ่งจะเรียกชาวบ้านมากินขนมกัน ขนมที่ถูกนำมาเลี้ยงในงานนี้ก็คือ ขนมสี่ถ้วยอันได้แก่ ขนมไข่กบหรือเม็ดแมงลัก ขนมนกปล่อยหรือลอดช่อง ขนมนางลอยหรือข้าวเม่า และขนมไอ้ตื้อหรือข้าวเหนียวดำนึ่ง ขนมทั้ง ๔ ชนิดนี้ จะรับประทานร่วมกับน้ำกะทิ เรียกได้ว่าคนกินอิ่มอร่อยสบายท้อง คนทำคนปรุงได้บุญ และคนออกเงินเลี้ยงก็สุขใจที่ได้ทำบุญทำทานขนมไทยนัยแห่งยศถา

ขนมมงคล 9 ชนิด

ขนมมงคล


"ขนมไทย" เอกลักษณ์ของความเป็นไทย นอกจากจะมีความงดงามวิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำ แล้วยังมีรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติ และกลิ่นอบร่ำควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่า และแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล
คำว่า "มงคล" หมายถึง สิ่งที่นำมาซึ่งความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง ส่วน "ขนมมงคล" หมายถึง ขนมไทยที่นำไปใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะและเป็นสิริมงคล ดังเช่น "ขนมมงคล 9 อย่าง" ที่จะกล่าวต่อไปนี้

ขนมทองเอก ขนมทองเอกเป็นขนมในตระกูลทองอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่งในทุกขั้นตอนการทำ มีลักษณะที่สง่างามโดดเด่นกว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม คำว่า "เอก" หมายความถึง การเป็นที่หนึ่ง การใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่างๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญในงานฉลองการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง จึงเปรียบเสมือนคำอวยพรให้เป็นที่หนึ่ง

ขนมทองหยิบ
เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่ง มีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ในการประดิษฐ์-ประดอยจับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อขนมทองหยิบเป็นชื่อสิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆ หรือให้เป็นของขวัญแก่ใครแล้ว จะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวยมีเงินมีทอง สมดังชื่อ "ทองหยิบ"


ขนมทองหยอดใช้ประกอบในพิธีมงคลทั้งหลาย หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพรักหรือญาติสนิทมิตรสหาย แทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ประดุจให้ทองคำแก่กัน

ขนมฝอยทองเป็นขนมในตระกูลทองที่มีลักษณะเป็นเส้น นิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้น ต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาวๆ เพื่อที่คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป

ขนมชั้น เป็นขนมไทยที่ถือเป็นขนมมงคล และจะต้องหยอดขนมชั้นให้ได้ 9 ชั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขสิริมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า และขนมชั้นก็หมายถึงการได้เลื่อนชั้น เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป

ขนมเม็ดขนุน เป็นหนึ่งในขนมตระกูลทองเช่นกัน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่า ชื่อของขนมเม็ดขนุนจะเป็นสิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนเนื่อง ในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือกิจการต่างๆ ที่ได้กระทำอยู่

ขนมจ่ามงกุฎ เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า "จ่ามงกุฎ" หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุด แสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ถือเป็นการแสดงความยินดีและอวยพรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การ งานยิ่งๆขึ้นไป

ขนมถ้วยฟู ชื่อของขนมถ้วยฟูให้ความหมายอันเป็นสิริมงคล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู นิยมใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ ทุกงาน เคล็ดลับของการทำขนมถ้วยให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานนั้น คือการใช้น้ำดอกไม้สดเป็นส่วนผสม และการอบร่ำด้วยดอกมะลิสดในขั้นตอนสุดท้ายของการทำ

ขนมเสน่จันทน์ "จันทน์" เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลสุกสีเหลืองเปล่งปลั่ง ทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอมชวนให้หลงใหล คนโบราณจึงนำความมีเสน่ห์ของผลจันทน์มาประยุกต์ทำเป็นขนม และได้นำ "ผลจันทน์ป่น" มาเป็นส่วนผสม ทำให้มีกลิ่นหอมเหมือนผลจันทน์ ให้ชื่อว่า "ขนมเสน่ห์จันทน์" โดยเชื่อว่า คำว่าเสน่ห์จันทน์เป็นคำที่มีสิริมงคล จะทำให้มีเสน่ห์คนรักคนหลงดังเสน่ห์ของผลจันทน์ ขนมเสน่ห์จันทน์จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรส

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมไทย

 ขนมไทย


เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์
ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดละอ่อนประณีตในการเลือกสรร
วัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวน
รับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด
ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
    ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการ
ทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนม
นั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้าน
ใหม่ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงานพื่อเป็นศิริมงคลของงาน ขนม
ก็จะมีีฝอยทองเพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้น
เงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
    ของหวานไทยหรือขนมไทย กล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะ
เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยเป็นคนมีลักษณนิสัยอย่างไร เนื่อง
ด้วยขนมไทยแต่ละชนิดล้วนมีเสน่ห์มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไปด้วย
ความละเมียดละไม ความวิจิตรบรรจงอยู่ในรูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนมที่สำคัญ
ขนมไทยแสดงให้เห็นว่าเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ ขนมธรรมดาๆ
ทำด้วยแป้ง น้ำตาล มะพร้าว เป็นส่วนประกอบสำคัญ สามารถดัดแปลงเป็นขนม
หลายชนิด หน้าตาแตกต่างกัน
    ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคน
อาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็นขนมประเพณี เช่น ขนมงานเนื่องใน
งาน แต่งงานขนมพื้นบ้านเช่นขนมครกขนมถ้วย ฯลฯ พวกนี้มีเห็นทั่วไป ส่วนขนม
ในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋มประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม